อธิบายระบบการเลือกตั้งของสหรัฐฯ
ที่มา: CGPGrey (
http://youtu.be/_95I_1rZiIs)
Commoncraft (
http://youtu.be/ok_VQ8I7g6I)
http://www.infoplease.com/askeds/donkey-elephant.html
ทุกๆ 4 ปี ประชาชนชาวอเมริกามีหน้าที่ที่สำคัญในการออกเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีคนต่อไปของประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ระบบการเลือกตั้งของสหรัฐอเมริกานั้นซับซ้อนกว่าของประเทศอื่นๆ ที่ส่วนใหญ่ประชากรทุกคนของประเทศสามารถออกเสียงเลือกผู้สมัครที่ต้องการเพื่อเป็นประธานาธิบดี หรือนายกรัฐมนตรีได้โดยตรง แต่การเลือกตั้งประธานธิบดีของ สหรัฐฯ เป็นการออกเสียงทางอ้อม โดยสามารถอธิบายได้ดังนี้
1. เริ่มต้นจากในแต่ละรัฐจะมีการจัดการเลือกตั้งย่อยเพื่อหาตัวแทนของพรรคเพื่อเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี
2. ในแต่ละรัฐจะมีคณะผู้เลือกตั้ง หรือ Electoral College ซึ่งจะเป็นตัวแทนในการออกเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีแทนประชาชนในรัฐนั้นๆ โดยจำนวนคณะผู้เลือกตั้งของแต่ละรัฐจะมาจากตัวแทนตามจำนวนของเขตการปกของ (district) ของแต่ละรัฐ และ คณะวุฒิสภาอีก 2 คน เช่น มลรัฐแคลิฟอร์เนียมี 53 เขตการปกครอง คณะผู้เลือกตั้งของมลรัฐแคลิฟอร์เนียจึงมี 55 คน (53 + 2) คณะผู้เลือกตั้งจากทุกรัฐรวมทั้งสิ้น 538 คน (มาจากตัวแทนตามจำนวนเขตการปกครอง 438 คน + วุฒิสภา 100 คน)
3. เมื่อมาถึงวันอังคารแรกหลังจากวันจันทร์แรกของเดือนพฤศจิกายนของทุกๆ 4 ปี ประชาชนที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งก็จะไปที่ศูนย์เลือกตั้งเพื่อเลือกผู้สมัครตำแหน่งประธานาธิบดีที่ตนชอบ เช่น ในการเลือกตั้งในวันที่ 6 พ.ย. 2555 ที่ผ่านมานี้ ประชาชนสามารถเลือก บารัค โอบามา มิตต์ รอมนีย์ และผู้สมัครจากพรรคเล็กอื่นๆ อีก 2 ท่าน
4. การออกเสียงของประชาชนเป็นการแสดงเจตนาแก่คณะผู้เลือกตั้งในรัฐของตนว่าอยากจะให้คณะผู้เลือกตั้งออกเสียงเลือกตั้งไปในทิศทางใด ในหนึ่งรัฐ ไม่ว่าผู้ชิงตำแหน่งประธานาธิบดีที่ได้รับเสียงข้างมากจะได้เสียงมากกว่าผู้สมัครคนอื่นๆ มากน้อยแค่ไหน เสียงของคณะผู้เลือกตั้งในรัฐนั้นๆ ทั้งหมดก็จะไปที่ผู้ลงสมัครผู้นั้น ดังนั้น รัฐที่มีจำนวนประชากรหรือเขตการปกครองเยอะกว่า ก็จะมีมีจำนวนเสียงของคณะผู้เลือกตั้งมากกว่า ทำให้รัฐต่างๆ มีความสำคัญต่อผลการเลือกตั้งมากกว่า
5. เป้าหมายของผู้ลงสมัครในวันเลือกตั้งคือ ผู้สมัครจะต้องได้เสียงจากคณะเลือกตั้งให้ได้มากกว่าครึ่งหนึ่ง(ของ 538 เสียง) หรือ 270 เสียง หากผู้สมัครคนใดได้ 270 เสียงก่อนผู้นั้นก็เป็นผู้ชนะ ทั้งนี้ผลจากการเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายน เป็นการคำนวนจากการคำนวนเสียงของคณะผู้เลือกตั้งของแต่ละรัฐที่จะไปยังผู้สมัครคนนั้นๆ ประชาชนสามารถทราบผลอย่างไม่เป็นทางการหลังจากการเปิดการเลือกตั้งประมาณ 12 ชม. หรือเมื่อมลรัฐแคลิฟอร์เนียซึ่งเป็นรัฐสุดท้ายนับคะแนนเสร็จสิ้น
6. ขั้นตอนต่อไปเป็นการเลือกตั้งของคณะผู้เลือกตั้งและเป็นการออกเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการ หรือ National Convention โดยคณะผู้เลือกตั้งจะมารวมตัวกัน เพื่อออกเสียงเลือกผู้สมัครที่ประชาชนข้างมากในรัฐของตนเลือกไว้ แม้ว่าในประวัติศาสตร์ ยังไม่มีการเลือกตั้งครั้งใดที่ผลเลือกตั้งอย่างเป็นทางการจะพลิกผันจากผลการเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายนแต่ก็ควรระลึกไว้เสมอว่า คณะผู้เลือกตั้งมีสิทธิเสรีในเลือกผู้สมัครซึ่งอาจจะเป็นคนเดียวกันกับที่ประชาชนต้องการหรือไม่ก็ได้
7. และวันที่ 20 มกราคม 2556 หรือ Inauguration Day เป็นวันที่ประธานาธิบดีขึ้นรับตำแหน่งและเริ่มปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการ
เกร็ดความรู้อื่นๆ เกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่น่าสนใจ
ชาวอเมริกันในเขต Territories
ผู้ที่อาศัยอยู่ใน Territories หรือ เขตอาณาเขตปกครองของสหรัฐฯ (หมู่เกาะอเมริกันซามัว กวม หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา เปอร์โตริโกและหมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐอเมริกาจะไม่มีสิทธิในการเลือกตั้งเพราะเขตดังกล่าวไม่จัดเป็นรัฐของสหรัฐฯ จึงพูดได้ว่าเกาะเหล่านี้ถือเป็นแห่งเดียวในจักรวาลที่ไม่มีสิทธิเลือกตั้ง นั่นเป็นเพราะแม้แต่ประชาชนสหรัฐฯ ที่อยู่ในต่างประเทศ หรือแม้แต่ในอวกาศก็ยังสามารถใช้สิทธิเลือกตั้งของตนโดยใช้ไปรษณีย์หรือจากอวกาศได้
Popular Vote vs. Electoral Vote
Popular vote คือคะแนนที่นับจากคะแนนเสียงของประชาชนจริงๆ ไม่มีผลทางกฎหมาย แต่สามารถแสดงให้เห็นว่าความนิยมของประชาชนที่แท้จริงเป็นอย่างไร เช่น ในการเลือกตั้ง 2012 โอบามาได้รับ303 Electoral Vote และรอมนี่ได้รับ 206 Electoral Vote ซึ่งดูเหมือนจะห่างกันมาก แต่่คะแนน Popular vote ค่อนข้างใกล้เคียง คือ 50.4% และ 48% ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแท้จริงแล้วประชาชนอีกเกือบครึ่งหนึ่งที่ไม่สนับสนุนโอบามา
ช้าง vs. ลา
ทำไมสัญลักษณ์ของพรรคการเมือง Democrat และ Republican ถึงต้องเป็นช้างกับลา? ที่มาของเรื่องนี้มาจากในสมัยที่ Andrew Jacksonลงสมัครรับเลือกตั้งโดยใช้สโลแกนว่า Let?s the people rule ทำให้พวกนักหนังสือพิมพ์เปรียบเขาเหมือนกับลา ซึ่ง Andrew กลับชอบฉายานี้และนำเอาสัญลักษณ์รูปลาในการหาเสียงเลือกตั้ง ซึ่งต่อมานักหนังสือพิมพ์ชื่อว่า Thomas Nast ได้นำเอาสัญลักษณ์รูปลามาเป็นสัญลักษณ์ของ พรรค Democrat ส่วนสัญลักษณ์รูปช้างเกิดมาจากการที่นาย Thomas วาดการ์ตูนล้อเลียน โดยใช้ช้างเป็นสัญลักษณ์ของพรรค Republican ซึ่งก็ได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์อย่างไม่เป็นทางการของพรรคในเวลาต่อมา
presidential election
สส.ไม่ได้เป็นคนเลือก ปธน นะครับ